ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล

1.ความรู้พิ้นฐานของฐานข้อมูล
   โครงสร้างสารสนเทศ ที่ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่มี ความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกัน ที่จะนำมาใช้ในระบบงานต่าง ๆ ร่วมกัน ระบบฐานข้อมูล จึงนับเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลได้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้งการเพิ่มข้อมูล การแก้ไข การลบ การค้นหา ตลอดจนการเรียกดูข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งส่วนจะเป็นการประยุกต์นำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการฐานข้อมูล และนำฐานข้อมูลผ่านกระบวนการประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ต้องการ
2.คำศัพท์ที่ใช้ในระบบฐานข้อมูล
  2.1  Bit (บิต)
  หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่มีการจัดเก็บในลักษณะของเลขฐานสอง คือ 0 กับ 1
  2.2 ไบต์ (ไบต์)
  หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำบิตมารวมกันเป็นตัวอักขระหรือตัวอักษร (Character)
  2.3 ฟิลต์ ( Field)
 หมายถึง เขตข้อมูล หรือหน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากไบต์หรือตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัว ขึ้นไป มารวมกันแล้วได้ความหมายเป็นคำ เป็นข้อความ หรือของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อบุคคล ตำแหน่ง อายุ เป็นต้น
  2.4 เรคคอร์ด (Record)
 หมายถึง ระเบียน หรือหน่วยของข้อมูลที่เกิดจาการนำเอาฟิลด์หรือเขตข้อมูลหลายๆ เขตข้อมูลที่เกี่ยวข้องมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นรายการข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของพนักงาน 1 ระเบียน (1 คน) จะประกอบด้วยฟิลด์ รหัสพนักงาน ชื่อ-สกุล ที่อยู่ ตำแหน่ง เงินเดือน เป็นต้น
  2.5 ไฟล์ (File)
หมายถึง แฟ้มข้อมูล หรือหน่วยของข้อมูลที่เกิดจาการนำข้อมูลหลาย ๆ ระเบียนที่เป็นเรื่องเดียวกัน เช่น แฟ้มข้อมูลพนักงาน แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลสินค้า ฯลฯ ส่วนในระบบฐานข้อมูล ก็จะมีคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่ควรรู้จักซึ่งจะกล่าวถึงในลำดับต่อไป
  2.6 เอนทิตี้ (Entity)
 หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เปรียบเสมือนคำนาม อาจได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดเก็บข้อมูลไว้ เช่น เอนทิตี้พนักงาน เอนทิตี้นักเรียน เป็นต้น 
        บางเอนทิตี้อาจไม่มีความหมายหากปราศจากเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล เช่น เอนทิตี้ประวัติของพนักงานจะไม่มีความหมายหากปราศจากเอนทิตี้พนักงาน เพราะจะไม่ทราบว่าเป็นประวัติของพนักงานคนใด เช่นนี้แล้วเอนทิตี้ประวัติพนักงานนับเป็นเอนทิตี้ชนิดอ่อนแอ (Weak Entity) 
  2.7 แอททริบิวต์ (Attribute)
หมายถึง รายละเอียดข้อมูลที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติของแอททริบิวต์หนึ่ง ๆ เช่น เอนทิตี้สินค้า ประกอบด้วย แอททริบิวต์รหัสสินค้า ประเภทสินค้า ชื่อสินค้า ราคาต่อหน่วย เป็นต้น บางเอนทิตี้ก็ยังอาจประกอบด้วยข้อมูลหลายส่วน หลายแอททริบิวต์ย่อยมารวมกัน เช่น แอททริบิวต์ที่อยู่พนักงาน ประกอบด้วย บ้านเลขที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด เช่นนี้แล้ว แอททริบิวต์ที่อยู่พนักงานจึงเรียกว่าเป็น แอททริบิวต์ผสม (Composite Attribute)บางแอททริบิวต์ก็อาจไม่มีค่าของตัวมันเอง แต่จะสามารถหาค่าได้จากแอททริบิวต์อื่น ๆ เช่น แอททริบิวต์อายุปัจจุบัน อาจคำนวณได้จากแอททริบิวต์วันเกิดลักษณะเช่นนี้จึงอาจเรียก แอททริบิวต์อายุว่าเป็น แอททริบิวต์ที่แปลค่ามา (Derived Attribute)
3.การนอมัลไลเซชั่น (Normalization)
  3.1 การลดความซ้ำซ้อน
 ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล  เมื่อลดความซ้ำซ้อนก็ทำให้ลดเนื้อหาที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลลดปัญหาความไม่ถูกต้องของข้อมูล  เมื่อข้อมูลไม่เกิดความซ้ำซ้อนทำให้การปรับปรุงข้อมูลสามารถทำได้จากแหล่งข้อมูลเพียงแหล่งเดียว ลดความผิดพลาดที่อาจเกิดจากการปรับปรุงข้อมูล (update anomalies) ซึ่งประกอบด้วย  
  3.2 ทำให้การเปลี่ยนแปลง
  การสร้างรูปแบบต่างๆที่ทำให้เกิดความหลากหลายใรการออกแบบฐานข้อมุลซึ่งมีหลายฟร์อม
  3.3 ลดปัญหาความไม่ถูกต้องของข้อมูล
ลดความซ้ำซ้อนของการใช้ข้อมูลหรือแหล่งการเก็บข้อมูลแก้ปัญหาการสร้างระบบที่ไม่ถูกต้อง

ความคิดเห็น